เมนู

จักษุ. อีกอย่างหนึ่ง ความเสรีในธรรมและความเสรีในบุคคล. จริงอยู่
โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสรี เพราะไม่ไปสู่อำนาจของกิเลส และบุคคล
ชื่อว่าเสรี เพราะประกอบด้วยโลกุตรธรรมเหล่านั้น. นิเทศแห่งความ
เป็นเสรีเหล่านั้น เพ่งถึงธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. อธิบายไว้ว่า มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไร ๆ มิได้ผูกไว้
ย่อมไปหาอาหารได้ตามความประสงค์ฉันใด เมื่อเราคิดว่า เมื่อไรหนอ
เราพึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา แล้วไปอย่างนั้นได้ ดังนี้ แล้วถูกพวกท่าน
ยืนล้อมอยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลัง ผูกพันอยู่ไม่ได้ไปตามความปรารถนา เรา
เห็นโทษในความไม่ได้ไปตามความปรารถนา เห็นอานิสงส์ในการไปได้
ตามความปรารถนาแล้ว ได้ถึงความบริบูรณ์ด้วยสมถะและวิปัสสนาตาม
ลำดับ แต่นั้นก็ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น นรชนผู้เป็น
วิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ 5

คาถาที่ 6


6) อามนฺตา โหติ สหายมชฺเฌ
วาเส ฐาเน คมเน จาริกาย
อนภิชฺฌิตํ เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว
ย่อมมีในท่ามกลางสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตาม

ความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 6 ดังต่อไปนี้.
นิเทศนี้เป็นปิณฑัตถะ คือ บวกความท่อนหลัง ๆ เข้ากับความท่อน
ต้นๆ. หรือมีอรรถว่า ประมวลความ. เมื่อตั้งอยู่ในท่ามกลางสหาย จำต้อง
มีการปรึกษากันอย่างนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจงฟังเรื่องนี้ของเรา
จงให้สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในที่อยู่ คือที่พักกลางวัน ในที่ยืน คือที่โรงฉันใหญ่
ในที่เดิน คือในการไปสวน ในที่เที่ยวไป คือในที่เที่ยวไปในชนบท
เพราะฉะนั้น เราเมื่อเบื่อหน่ายในที่นั้น ๆ เห็นบรรพชาที่อริยชนเสพ
มีอานิสงส์มาก เป็นความสุขโดยส่วนเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษชั่ว
ทั้งหมดถูกลาภครอบงำ ไม่เพ่งไม่ปรารถนา เห็นความไม่เพ่งนั้น และเห็น
ธรรมอันให้ถึงความเสรีด้วยอำนาจแห่งธรรมและบุคคล โดยไม่ตกอยู่ใน
อำนาจของผู้อื่น จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณตามลำดับ
ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 6

คาถาที่ 7


7) ขิฑฺฑา รตี โหติ สหายมชฺเฌ
ปุตฺเตสุ จ วิปูลํ โหติ เปมํ
ปิยวิปฺปโยคํ วิชิคุจฺฉมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.